CT ศูนย์รวมคนรักการ์ตูนในประเทศไทย!!!
kuroshitsuji 5welcome
CT ศูนย์รวมคนรักการ์ตูนในประเทศไทย!!!
kuroshitsuji 5welcome
CT ศูนย์รวมคนรักการ์ตูนในประเทศไทย!!!
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

CT ศูนย์รวมคนรักการ์ตูนในประเทศไทย!!!

เหล่าคนรักการ์ตูนทั้งหลาย ได้เวลารวมตัวกันแล้ว!!!
 
บ้านPortalLatest imagesค้นหาสมัครสมาชิก(Register)เข้าสู่ระบบ(Log in)

 

 kuroshitsuji

Go down 
ผู้ตั้งข้อความ
kyoya11
CEDEF
CEDEF
kyoya11



kuroshitsuji Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: kuroshitsuji   kuroshitsuji Icon_minitimeSun May 02, 2010 12:52 am

โปรดิวเซอร์ Square Enix เผย 8 ปีทำอนิเมไม่เคยขาดทุน
โปรดิวเซอร์โคจิ ทางุจิ โปรดิวเซอร์จากทางฝั่งสนพ.Square Enix อดีตลูกจ้างที่เข้าทำงานที่บริษัท Enix
ตั้งแต่ปี 1988 ก่อนที่จะมารวมตัวเป็น Square Enix โดยผลงานปัจจุบันนั้นเป็นโปรดิวเซอร์ให้กับเรื่อง
Fullmetal Alchemist ,Soul Eater,Black Butler และ Saki ได้ออกมาเปิดเผยในงาน
Japan International Contents Festival เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา ในช่วงงาน Gekiteki 3-Jikan Show
ว่าตลอด 8 ปีที่ผ่านมานั้นทาง Square Enix นั้นได้ทำลงทุนทำอนิเมราวๆ ประมาณ 30 เรื่องและไม่มีเรื่องไหนเลยที่ขาดทุนซักเรื่อง

โดยคุณทางุจิได้ออกมาเปรียบเทียบว่าเมื่อเทียบกับเกมแล้ว
การใช้อนิเมในธุรกิจสิ่งพิมพ์นั้นเป็นเรื่องที่ง่ายกว่าเยอะ โดยยังชี้ให้เห็นว่าทาง Square Enix
นั้นถนัดในการ์ตูนแนวเนื้อหาเฉพาะ จำพวก Moe,Fujoshi (สาวๆ ที่ชอบ Boy Love) ,การ์ตูนแก๊ก
และก็การ์ตูนโชเน็นทั่วๆ ไป โดยถ้าจะยกตัวอย่างผลงานที่ผ่านมาๆ นั้นแนว Moe นั้นก็คืออย่าง Saki
และ Bamboo Blade ที่ตั้งเป้าหมายจับลูกค้ากลุ่มอายุ 30-40 ปี (จริงเรอะ)
ส่วน Fullmetal Alchemist นั้นเป็นการ์ตูนแนวโชเน็นทั่วๆไป ที่เป็นกลุ่มที่มีขนาดใหญ่ที่สุด

และพูดถึงแนว Fujoshi คุณทางุจิก็ออกมาพูดถึงเรื่องซีซั่นสองของ Kuroshitsuji
หรือว่า Black Butler ซึ่งต้องบอกว่าแนวนี้เป็นแนวที่ทำตลาดยาก
แม้ว่าปัจจุบันยอดขายของฉบับการ์ตูนของเรื่องนี้เล่มแรกจะทะลุ 1 ล้านเล่มไปแล้ว
แต่ว่าในการพิมพ์ครั้งแรกนั้นกลับไม่ได้ต้องพิมพ์ถึงล้านเล่ม แต่ว่าพิมพ์ได้แค่ครั้งละ 50,000 เล่ม
(ก็ยังดีกว่าประเทศสารขัณฑ์ที่เริ่มพิมพ์ครั้งละ 3,000 เล่มละฟ่ะ) จากนั้นจึงต้องค่อยๆ พิมพ์เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

เช่นเดียวกับการ์ตูนแก๊กอย่าง Tentai Senshi Sunred เป็นเคสตัวอย่างที่ยากในการทำธุรกิจที่ยืนยาว
เนื่องจากว่าการ์ตูนประเภทนี้จะแปรปรวนไปตามกระแส โดยคุณทางุจิได้ชี้ให้เห็นว่าการ์ตูนประเภทนี้นั้น
จะอ่านกันเฉพาะช่วงวัย เรียนเท่านั้น เมื่อโตขึ้นไปแล้วกลับมาอ่านอีกครั้งก็จะพบว่ามันไม่สนุกเหมือนเดิมอีกแล้ว
หรือการ์ตูนอย่าง World of Golden Eggs (ที่ DVD ขายดีมากๆ) ก็เริ่มจากแค่เป็นรายการในช่องเคเบิ้ลเล็กๆ
แต่ว่าได้รับความนิยมอย่างกับไฟลามทุ่งในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา แต่ว่าก็ไม่มีใครตอบได้ว่ามันจะยืนยาวหรือเปล่า

เปรียบอนิเมดั่งการตกปลา
การเปรียบเทียบอย่างหนึ่งที่น่าสนใจที่คุณทางุจิได้พูดเอาไว้ก็คือการตั้งเป้าหมายตลาด
ผู้ที่เสพอนิเมนั้นก็เปรียบได้กับการตกปลาในที่ๆ ถูกที่และการใช้เหยื่อที่ถูกต้อง
อย่างเช่นบริษัทผู้สร้างนั้นจำเป็นต้องค้นหาก่อนว่าปลานั้นอยู่ที่ไหน
เหมือนกับการหาว่าเรื่องแนวไหนกำลังฮิต ส่วนการเลือกเหยื่อที่คิดว่าปลาตัวไหนจะชอบ
ก็เหมือนกับการเลือกว่าจะเอาการ์ตูนเรื่องไหนมาทำอนิเม และสุดท้ายก็คือการทำให้ปลาติดเบ็ดนั้นก็เหมือนกับ
การเลือกสตูดิโอที่จะมาทำงาน (อ่านแล้วดูเหมือนว่าตัวเองเป็นปลาโง่ๆ ยังไงก็ไม่รู้สิ)

โดยพื้นฐานแล้วสนพ.ทั้งหลายนั้นจำเป็นต้องลงทุนในเรื่องของค่าโปรดักชั่น ,การตลาด,โฆษณา
สำหรับการทำอนิเมลงทีวี โดยอนิเม 1 ตอนนั้นเฉลี่ยนแล้วต้องใช้เงินราวๆ 10 - 20 ล้านเยนในการสร้าง
นอกจากนี้แล้วในส่วนของการนำไปฉายช่องนั้นทางสนพ.ต้องจ่ายเงินให้กับช่องทีวี
เพื่อแย่งสล็อตเวลามาอีก โดยในส่วนนี้จะต้องใช้เงินอีกราวๆ 50 ล้านเยน
สำหรับอนิเม 2 Cours (ประมาณ 24-26 ตอน) ในช่วงเวลาดึกที่ฉายในตามสถานีต่างๆ ราวๆ 5-7 สถานี
และเมื่อเทียบกับการจ่ายสปอนเซอร์ให้กับสถานีโทรทัศน์ที่ออกอากาศในระบบ UHF นั้น
จะถูกลงกว่าอีกครึ่งนึง โดยรวมๆ แล้วเมื่อยกตัวอย่างการทำอนิเมระดับ Fullmetal Alchemist
ที่ฉาย 1 ปีเต็มช่วงเวลา 6 โมงเย็นวันเสาร์นั้นจะต้องใช้เงินราวๆ 500 ล้านเยนเลยทีเดียว

คำถามคือจะเอาเงินคืนมาจากไหน? คำตอบก็คือมาจากยอดขายการ์ตูนนั่นแหละครับ
โดยสนพ.ทั่วไปนั้นจะหาเงินคืนได้จากการขายการ์ตูน โดยยกตัวอย่างมาจากฉบับรวมเล่มของ
Fullmetal Alchemist ที่ขายอยู่เล่มละ 420 เยน เมื่อตัดค่าลิขสิทธิ์ให้นักเขียน ค่าพิมพ์,
และค่ากระดาษ รวมถึงค่าสายส่งแล้ว สนพ.จะมีกำไรอยู่แค่ราวๆ เล่มละ 150 เยนต่อเล่ม
ถ้าหากว่าต้องใช้เงินถึง 500 ล้านเยนในการทำอนิเม ตัวอนิเมต้องทำให้หนังสือ
ขายได้ราวๆ 3.3 ล้านเล่มในการที่จะกำไรคืนกลับให้บริษัท

ซึ่งสำหรับยอดขายของ Fullmetal Alchemist นั้นเดิมทีแล้วมียอดขายต่อเล่มอยู่ที่ 150,000 เล่ม
แต่หลังจากอนิเมออกฉายยอดขายก็พุ่งไป 10 เท่าเป็น 1.5 ล้านเล่ม จนก่อนที่อนิเมภาคสองจะออกฉาย
แต่ละเล่มนั้นขายได้อยู่ที่ราวๆ 1.9 ล้านเล่ม แต่ว่าตอนนี้ยอดขายพุ่งมาเป็น 2.1 ล้านเล่มต่อเล่ม
คุณทางุจิได้ออกมาประมาณการว่าด้วยการที่มีอนิเมนี้ทำให้การ์ตูนของ Fullmetal Alchemist
นี้น่าจะขายได้รวมกันแล้วเพิ่มขึ้นถึง 4.6 ล้านเล่มเลยทีเดียว

ตัวอย่างต่อไปก็เช่น Saki ฉบับอนิเมนั้นในช่วงสี่สัปดาห์ก่อนอนิเมฉายนั้นอย่างการ์ตูนเล่มแรกนั้น
ขายได้แค่ 500 เล่มในสัปดาห์แรก แต่ว่ายอดนั้นกลับกระโดดขึ้นไปถึง 3,000 ในสัปดาห์ก่อนที่อนิเมจะฉาย
จากนั้นในตอนสัปดาห์แรกที่ฉาย ยอดขายก็ขึ้นไปเพิ่มอีก 4,500 ในสัปดาห์นั้น
จนเมื่อเข้าสู่สัปดาห์ที่ 2 หลังจากออกอากาศไปแล้ว ยอดขายก็พุ่งไปถึง 17,000
และเก็บได้อีก 9,000 เล่มในสัปดาห์ที่ 3 จนทำให้การ์ตูนที่เคยมียอดขายแค่ 150,000 เล่ม
นั้นพุ่งขึ้นไปถึง 350,000 เล่มเลยทีเดียว (ปัจจุบันมีรวมเล่มออกมา 6 เล่มแล้ว)

เมื่อเปรียบเทียบกับ Kutoshitsuji หรือว่า Black Butler แล้ว ขายได้สัปดาห์แรก 4,000
ก่อนที่อนิเมจะฉายในอีก 3 สัปดาห์ จนมาถึงสัปดาห์ที่ 2 ก็ขายได้ 8,000 เล่ม
จากนั้นก็เพิ่มเป็น 12,000 เล่มก่อนที่อนิเมจะฉายอีก 1 สัปดาห์ และเมื่อฉายจริงแล้วก็ขายได้ถึง 14,000 เล่ม
จนเมื่อสัปดาห์ที่ 2 ก็ขายได้ 17,000 เล่ม สัปดาห์ที่ 3 ขายได้อีก 16,000 เล่ม
สัปดาห์ที่ 4 ขายได้อีก 14,000 เล่ม สัปดาห์ที่ 5 อีก 13,000 เล่ม และสัปดาห์ที่ 6 อีก 14,000 เล่ม
ด้วยยอดขายทั้งหมดนี้ ทำให้การ์ตูนที่เคยขายได้ราวๆ 600,000 เล่มก่อนอนิเมฉาย
ยอดขายพุ่งขึ้นไปถึง 910,000 เล่มเลยทีเดียว (ปัจจุบันยอดขายอยู่ที่ราวๆ 1 ล้านเล่มต่อฉบับ)

แม้ว่ายอดขายในญี่ปุ่นจะพุ่งเป็นจรวดติดเครื่องไอพ่น แต่ว่าสำหรับในต่างประเทศแล้ว
ยอดขายการ์ตูนกลับไม่ได้ดีอะไรอย่างที่คิด แม้ว่าในต่างประเทศที่มีการจัดงานอย่าง Japan Expo
ในปารีสและ Comic-Con ที่ซานดิเอโก้จะมีผู้เข้าร่วมมากว่า 100,000 คน
แต่ว่าธุรกิจการ์ตูนนั้นกลับไปไม่ได้ดีในต่างประเทศเท่าไหร่นัก แม้ว่ายอดขายการ์ตูนของ Fullmetal
และ Naruto นั้นจะเป็นการ์ตูนขายดีอันดับต้นๆ ในอเมริกา แต่เมื่อเทียบกับญี่ปุ่นแล้ว
ยอดขายนั้นก็เป็นเพียงแค่ 1 ใน 20 หรือ 1 ใน 10 ของยอดขายในญี่ปุ่นเท่านั้น

ปัจจัยที่ทำให้เกิดความแตกต่างนี้คุณทางุจิได้ให้เหตุผลเอาไว้ว่าเป็นเรื่อง
ความต่างของราคาหนังสือในต่างประเทศที่มีราคาสูงกว่า และยอดพิมพ์ที่ต่ำกว่า
(แต่ถึงกระนั้นนักอ่านการ์ตูนของประเทศสารขัณฑ์ก็ยังว่าการ์ตูนแพง)
ส่วนเหตุผลที่สองก็คือเงินค่าขนมที่เด็กๆ ได้นั้นไม่เท่ากันซึ่งในต่างประเทศจะน้อยกว่า
และเหตุผลอย่างที่สามก็คือสภาพภูมิประเทศซึ่งยกตัวอย่างในโตเกียวนั้นคุณ
สามารถปั่นจักรยานไปซื้อการ์ตูนได้โดยมีให้เลือกเยอะหลายร้าน แต่ว่าในต่างประเทศเด็กๆ
จะสามารถซื้อได้ก็ต่อเมื่อไปที่ห้างสรรพสินค้าช่วงสุดสัปดาห์กับพ่อแม่เท่านั้น ผลก็คือ
แม้ว่าอนิเมจะได้รับความนิยมเท่าไหร่ แต่ว่ามันก็ได้มีผลกับการที่คนจะซื้อการ์ตูนรวมเล่มเท่าไหร่นักนั่นเอง

ที่มา bizmakoto.jp/makoto/articles/0910/09/news003_6.html
ที่มาการแปล [You must be registered and logged in to see this link.]
ขึ้นไปข้างบน Go down
 
kuroshitsuji
ขึ้นไปข้างบน 
หน้า 1 จาก 1

Permissions in this forum:คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
CT ศูนย์รวมคนรักการ์ตูนในประเทศไทย!!! :: Cartoon Fanclub :: พูดคุยเกี่ยวกับการ์ตูนอื่นๆ-
ไปที่: