CT ศูนย์รวมคนรักการ์ตูนในประเทศไทย!!!
สึซึมิยะ ฮารุฮิ 5welcome
CT ศูนย์รวมคนรักการ์ตูนในประเทศไทย!!!
สึซึมิยะ ฮารุฮิ 5welcome
CT ศูนย์รวมคนรักการ์ตูนในประเทศไทย!!!
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

CT ศูนย์รวมคนรักการ์ตูนในประเทศไทย!!!

เหล่าคนรักการ์ตูนทั้งหลาย ได้เวลารวมตัวกันแล้ว!!!
 
บ้านPortalLatest imagesค้นหาสมัครสมาชิก(Register)เข้าสู่ระบบ(Log in)

 

 สึซึมิยะ ฮารุฮิ

Go down 
ผู้ตั้งข้อความ
kyoya11
CEDEF
CEDEF
kyoya11



สึซึมิยะ ฮารุฮิ Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: สึซึมิยะ ฮารุฮิ   สึซึมิยะ ฮารุฮิ Icon_minitimeWed May 05, 2010 9:37 pm

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


สึซึมิยะ ฮารุฮิ

ชื่อไทย สึซึมิยะ ฮารุฮิ
ชื่อญี่ปุ่น 涼宮ハルヒ
ชื่ออังกฤษ Suzumiya Haruhi
ประเภท เซเน็น
แนว ตลก, นิยายวิทยาศาสตร์
นิยาย

ผู้แต่ง นางารุ ทานิงาวะ
ผู้วาดภาพประกอบ โนอิจิ อิโต
สำนักพิมพ์ คาโดกาวะโชเท็น
บงกชบุ๊คส์
Little, Brown Books for Young Readers & Yen Press
Kadokawa Media
Daiwon C.I.
นิตยสาร เดอะสนีกเกอร์ส (เฉพาะเรื่องสั้น)
ตีพิมพ์เมื่อ 6 มิถุนายน 2546 – ปัจจุบัน
25 กรกฎาคม 2551 – ปัจจุบัน
จำนวนเล่ม 9 เล่ม
4 เล่ม
หนังสือการ์ตูน

ผู้แต่ง มาโกโตะ มิซุโนะ (ภาพ)
สำนักพิมพ์ คาโดกาวะโชเท็น
นิตยสาร โชเน็นเอซรายเดือน
ตีพิมพ์เมื่อ มีนาคม – ธันวาคม พ.ศ. 2547
จำนวนเล่ม 1 เล่ม
หนังสือการ์ตูน

ผู้แต่ง กาคุ สุงาโนะ
สำนักพิมพ์ คาโดกาวะโชเท็น
บงกชคอมิกส์
Yen Press
Pika Édition
นิตยสาร โชเน็นเอซรายเดือน
ตีพิมพ์เมื่อ พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 – ปัจจุบัน
จำนวนเล่ม 9 เล่ม
7 เล่ม
ภาพยนตร์การ์ตูนโทรทัศน์
เรียกเธอว่าพระเจ้า สึซึมิยะ ฮารุฮิ
ผู้กำกับ ฮิโรชิ ยามาโมโตะ
ออกแบบตัวละคร โนอิจิ อิโต
ผลิตโดย เกียวโตแอนิเมชัน
ลิขสิทธิ์ Madman Entertainment
โรสแอนิเมชัน
Bandai Entertainment
ฉายทาง Chiba TV, SUN-TV, Tokyo MX, TV Aichi, TV Hokkaido,TV Kanagawa, Teletama
ฉายครั้งแรก 2 เมษายน - 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2549
จำนวนตอน 14 ตอน (รายชื่อตอน)
หนังสือการ์ตูน
สึซึมิยะ ฮารุฮิจัง
สำนักพิมพ์ Kadokawa Shoten
บงกชคอมิกส์
นิตยสาร Shōnen Ace, The Sneaker
ตีพิมพ์เมื่อ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 – ปัจจุบัน
จำนวนเล่ม 3 เล่ม
2 เล่ม
โอวีเอ
The Melancholy of Haruhi-chan Suzumiya
ผลิตโดย เกียวโตแอนิเมชัน
จำนวนตอน 25
จำหน่ายเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ - 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
ความยาว 2–8 นาที
โอวีเอ
Nyorōn Churuya-san
ผลิตโดย เกียวโตแอนิเมชัน
จำนวนตอน 13
จำหน่ายเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ - 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
ความยาว 2 นาที
ภาพยนตร์การ์ตูนโทรทัศน์
เรียกเธอว่าพระเจ้า สึซึมิยะ ฮารุฮิ
(ฉายใหม่พร้อมกับตอนใหม่)
ผู้กำกับ ทัตซึยะ อิชิฮาระ
ออกแบบตัวละคร โนอิจิ อิโต
ผลิตโดย เกียวโตแอนิเมชัน
ลิขสิทธิ์ โรสแอนิเมชัน[1]
ฉายทาง Tokyo MX
ฉายครั้งแรก 3 เมษายน - 9 ตุลาคม พ.ศ. 2552
จำนวนตอน 28 (รายชื่อตอน)
หนังสือการ์ตูน
การหายตัวไปของนางาโตะ ยูกิจัง
สำนักพิมพ์ Kadokawa Shoten
นิตยสาร Young Ace
ตีพิมพ์เมื่อ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 – ปัจจุบัน
ภาพยนตร์การ์ตูน
การหายตัวไปของสึซึมิยะ ฮารุฮิ
ผู้กำกับ ทัตซึยะ อิชิฮาระ
ผลิตโดย เกียวโตแอนิเมชัน
วันที่ออกฉาย 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
ความยาว 150 นาที
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมการ์ตูนญี่ปุ่น

สึซึมิยะ ฮารุฮิ (ญี่ปุ่น: 涼宮ハルヒ Suzumiya Haruhi ?) เป็นชื่อเรียกนิยายชุดหนึ่ง แต่งโดย นาการุ ทานิกาวะ และวาดภาพประกอบโดย โนอิจิ อิโต ลงตีพิมพ์ในนิตยสารสนีกเกอร์ส ในประเทศญี่ปุ่น ปัจจุบัน (พฤษภาคม 2549) นิยายชุด สึซึมิยะ ฮารุฮิ มีอยู่ทั้งหมด 9 เล่ม ถูกดัดแปลงเป็นมังงะลงตีพิมพ์ในนิตยสารโชเน็นเอซ และ ถูกดัดแปลงเป็นภาพยนตร์การ์ตูนความยาว 14 ตอนออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ชิบะ ในปี พ.ศ. 2549 และ นำมาฉายซ้ำพร้อมกับฉายตอนใหม่ในปี พ.ศ. 2552

เนื้อเรื่อง

วันธรรมดา ชีวิตธรรมดาของนักเรียนหญิงชั้นมัธยม 4 นั้นคือ สึซึมิยะ ฮารุฮิ มีความตั้งใจที่จะค้นหาสิ่งมีชีวิตนอกโลก นั้นคือ ผู้เดินทางข้ามกาลเวลา ผู้มีพลังพิเศษ มนุษย์ต่างดาว โดยมีมนุษย์ธรรมดาเพียงคนเดียวที่เป็นเพื่อนกับ ฮารุฮิ คือ เคียวน์ จากนั้นไม่นานจึงได้กิจกรรมชมรมชื่อ "กองพัน SOS" ภาษาญี่ปุ่น SOS団 โดยมีความหมาย อ่านได้ว่า "เอสโอเอสดัน" ย่อมาจาก Sekai wo Ooini moriagerutame no Suzumiya Haruhi no dan

ตัวละคร

สึซึมิยะ ฮารุฮิ
(ญี่ปุ่น: 涼宮ハルヒ Suzumiya Haruhi ?)
ให้เสียงโดย อายะ ฮิราโนะ (ญี่ปุ่น), ศรีอาภา เรือนนาค (ไทย)
สึซึมิยะ ฮารุฮิ เป็นจุดเริ่มต้นทั้งหมดในเรื่อง โดยมีความสนใจในสิ่งเหนือธรรมชาติ มนุษย์ต่างดาว คนที่มาจากโลกอนาคต และผู้มีพลังจิต และมีความสามารถท่างกีฬาเป็นอย่างมาก เรียนเก่ง แต่ด้วยความเป็นคนตรงไปตรงมาก จึงมีอุปนิสัยที่แปลกประหลาด ทำให้เพื่อนที่เป็นคนธรรมดา ไม่อาจจะรับรู้ความต้องการของเธอได้ ยกเว้นเพื่อนเพียงคนเดียว คือ เคียวน์ จนทำให้เธอได้ตั้ง "กองพัน SOS"
เคียวน์
(ญี่ปุ่น: キョン Kyon ?)
ให้เสียงโดย โทโมคาซุ ซุงิตะ
เคียวน์เป็นเพื่อนร่วมชั้นของฮารุฮิ ซึ่งให้คำแนะนำซึ่งนำไปสู่การก่อตั้งกองพัน SOS ของฮารุฮิ และถูกบังคับให้เป็นสมาชิกของกองพัน SOS โดยไม่สมัครใจ ทำให้เคียวน์เป็นมนุษย์ธรรมดาเพียงคนเดียวในกลุ่มนี้ ชื่อ "เคียวน์" นั้นไม่ใช่ชื่อจริงแต่เป็นชื่อเล่นที่คุณป้าเรียก โดยที่ชื่อจริงของเคียวน์ยังไม่ปรากฏในเรื่องเลย และเป็นมนุษย์ธรรมดา ธรรมดาคนหนึ่งเท่านั้นเอง
นางาโตะ ยูกิ
(ญี่ปุ่น: 長門 有希 Nagato Yuki ?)
ให้เสียงโดย มิโนริ จิฮาระ
นางาโตะ ยูกิ เป็นสมาชิกของกองหัน SOS เป็นเจ้าของห้องชมรมอักษรที่เหลืออยู่คนสุดท้ายทำให้ถูกบังคับ ให้มาอยู่ในชมรมเพื่อจะได้ใช้ห้องชมรมอักษรเปลื่ยนไปเป็นของ ฮารุฮิแทน ลักษณะตัวละครเป็นคนเงียบๆ อ่านแต่หนังสือ ในเบื้องหลัง ยูกิไม่ใช่มนุษย์ เป็นสิ่งมีชีวิตนอกโลกหรือมนุษย์ต่างดาวมารวบรวมข้อมูลฮารุฮิ ตอนเริ่มเรื่องยูกิสวมแว่นตา แต่เลิกสวมไปหลังจากที่เคียวน์บอกว่าถอดแว่นแล้วดูดีกว่า หลังจากเหตุการณ์ที่ต่อสู้กับอาซากุระ เรียวโกะ [2]
อาซาฮินะ มิคุรุ
(ญี่ปุ่น: 朝比奈 みくる Asahina Mikuru ?)
ให้เสียงโดย ยูโกะ โกโต
อาซาฮินะ มิคุรุ เป็นนักเรียนที่ถูกฮารุฮิจับตัวเธอได้ระหว่างที่เธอกำลังอยู่ในห้องเรียน แล้วโดนบังคับให้เธอออกจากชมรมเขียนพู่กันมาเป็นสมาชิกของกองพัน SOS มิคุรุมีนิสัยเป็นคนสุภาพเรียบร้อย ซุ่มซ่าม ขี้กลัว ขี้ตกใจ ไม่มีความมั่นใจในตัวเอง และไม่สู้คน ทำให้ฮารุฮิสามารถใช้เธอเล่น "แต่งตัวตุ๊กตา" เพื่อแก้เบื่อได้อย่างง่ายดาย เบื้องหลัง มิคุรุถูกส่งมาจากโลกอนาคตเพื่อสืบหาสาเหตุที่ความปั่นป่วนในมิติเวลาในอดีตก่อนสามปีก่อนที่ฮารุฮิจะเข้าโรงเรียนมัธยมปลายได้
โคอิซึมิ อิสึกิ
(ญี่ปุ่น: 古泉 一樹 Koizumi Itsuki ?)
ให้เสียงโดย ไดซุเกะ โอโนะ
โคอิซึมิ อิสึกิ เป็นนักเรียนที่ย้ายเข้ามาเรียน ม.4 โรงเรียนของฮารุฮิหลังจากเปิดเทอมได้ 1 เดือนและถูกฮารุฮิชักชวนให้เข้ากองพัน SOS ทันที โดยปกติ อิสึกิมีหน้าตายิ้มแย้มอยู่เสมอ และเป็นมนุษย์ธรรมดา อิสึกิพร้อมจะปฏิบัติตามคำสั่งของฮารุฮิทุกอย่างโดยไม่ขัดข้องหรือสงสัย เขามีนิสัยชอบอธิบายเรื่องราวต่างๆ อย่างมีหลักการ เต็มไปด้วยรายละเอียด ยืดยาว ใช้การอุปมาอุปไมยที่เข้าใจยาก และมักจะใช้มือแสดงท่าทางประกอบด้วยเวลาพูด เบื้องหลัง อิทสึกิเป็นหนึ่งในมนุษย์ที่มีพลังเหนือธรรมชาติที่ได้รับพลังเหล่านี้เมื่อ 3 ปีก่อนโดยพวกเขามีหน้าที่ต่อสู้กับ "มนุษย์เทพ" (神人) ที่เกิดขึ้นจากการสร้างจากจิตใจของ ฮารุฮิ ซึ่งจะปรากฏตัวในมิติอยู่คู่ขนานกับโลก โดยมี "องค์กร" (機関) (the Agency) เป็นผู้ดูแลและสนับสนุนอิสึกิ ในการเก็บข้อมูลของฮารุฮิอีกด้วย

สื่อต่างๆ
นิยาย
ดูบทความหลักที่ สึซึมิยะ ฮารุฮิ (นิยาย)
แต่งโดย นาการุ ทานิกาวะ และวาดภาพประกอบโดย โนอิจิ อิโต ซึ่งวางจำหน่ายในรูปแบบนิยายยาวและรวมเรื่องสั้น โดยเรื่องสั้นนั้น ตีพิมพ์ลงใน The Sneaker ของ สำนักพิมพ์ คาโดคาว่าโชเท็น ในประเทศญี่ปุ่น สำหรับลิขสิทธิ์ของนิยายในต่างประเทศได้แก่ ใน ไต้หวัน, ฮ่องกง และ จีน ลิขสิทธิ์โดย Kadokawa Media, ในเกาหลีใต้ลิขสิทธิ์โดย Daiwon CI, ในสหรัฐอเมริกาลิขสิทธิ์โดย Little, Brown Books for Young Readers and Yen Press [3] และในประเทศไทย ลิขสิทธิ์โดย สำนักพิมพ์บงกช พับลิชชิ่ง

มังงะ
สำหรับมังงะของสึซึมิยะ ฮารุฮิ นั้นมี 2 แบบ โดยแบบแรก วาดโดย มิซึโนะ มาโคโตะ โดยตีพิมพ์ลงใน Shōnen Ace ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ถึง ธันวาคม พ.ศ. 2547 เนื้อเรื่องในมังงะนี้ แตกต่างจากต้นฉบับที่เป็นไลท์โนเวลอย่างมาก และออกฉบับรวมเล่มได้ 1 เล่ม ต่อมา มังงะแบบที่ 2 วาดโดย กาคุ สึงาโนะ เริ่มตีพิมพ์ตั้งแต่เดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 และปัจจุบันยังคงตีพิมพ์อยู่ ออกฉบับรวมเล่มได้ 8 เล่ม

สำหรับมังงะแบบการ์ตูนสี่ช่อง ใช้ชื่อว่า สึซึมิยะ ฮารุฮิจัง (The Melancholy of Haruhi Suzumiya-chan) วาดโดย Puyo โดยเริ่มตีพิมพ์ลงใน Shōnen Ace ตั้งแต่วันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 และใน The Sneaker ตั้งแต่วันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2550 และฉบับรวมเล่มเล่มแรกวางจำหน่ายวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 เล่มสองวางจำหน่ายวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2551 และมังงะแบบการ์ตูนสี่ช่อง ลิขสิทธิ์ในประเทศไทยโดย บงกช พับลิชชิ่ง ส่วนมังงะการ์ตูนสี่ช่อง อื่นๆ ได้แก่ Nyoro~n Churuya-san วาดโดย Eretto (อูทสึระ อูราระกะ) โดยต้นฉบับเดิมมาจากโดจินชิ วางจำหน่ายทั้งหมดสามเล่ม (วางจำหน่ายเดือน สิงหาคม พ.ศ. 2549, กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550, และ ตุลาคม พ.ศ. 2550) ก่อนที่จะตีพิมพ์ลงใน Comp Ace ในเดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 และ การหายตัวไปของนางาโตะ ยูกิจัง (ญี่ปุ่น: 長門有希ちゃんの消失 Nagato Yuki-chan no Shōshitsu The Vanishing of Nagato Yuki chan ) วาดโดย Puyo โดยเริ่มตีพิมพ์ลงใน Young Ace ของสำนักพิมพ์ Kadokawa Shoten ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2552

อนิเมะ

ภาพยนตร์
ในตอนท้ายของตอน Someday in the rain ของอะนิเมะที่นำมาฉายใหม่ ได้มี ทีเซอร์ ประกาศเกี่ยวกับภาพยนตร์อะนิเมะของสึซึมิยะ ฮารุฮิ ใหม่ โดยใช้ชื่อว่า การหายตัวไปของสึซึมิยะ ฮารุฮิ (The Vanishment of Haruhi Suzumiya) โดยมาจากนิยายเล่มที่ 4 จะฉายในโรงภาพยนตร์ที่ญี่ปุ่นในฤดูใบไม้ผลิ ปี 2010

ออดิโอดรามา
ดูบทความหลักที่ อัลบั้มในสึซึมิยะ ฮารุฮิ#ออดิโอดรามา
ในชุด เรดิโอดรามา นั้นวางจำหน่ายทั้งหมด 3 ชุดโดยในชุดแรกใช้ชื่อว่า SOS Dan Radio Shibu Bangai Hen CD Vol.1 วางจำหน่ายเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 โดย แลนติส ชุดที่สอง วางจำหน่ายเมื่อวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2549 และชุดที่สาม วางจำหน่ายเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2549 ส่วนดรามาซีดีใช้ชื่อว่า Sound Around วางจำหน่ายเมื่อวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2550 โดย แลนติส

วิดีโอเกมส์
สำหรับเกมของ สึซึมิยะ ฮารุฮิ นั้นมีอยู่ด้วยกัน 5 เกม เกมแรกคือ คำสัญญาของสึซึมิยะ ฮารุฮิ (ญี่ปุ่น: 涼宮ハルヒの約束 Suzumiya Haruhi no Yakusoku The Promise of Haruhi Suzumiya ) พัฒนาโดย Namco Bandai Games วางจำหน่ายลงบนเครื่อง เพลย์สเตชันพอร์เทเบิล เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2550 เกมที่สองคือ ความสับสนของสึซึมิยะ ฮารุฮิ (ญี่ปุ่น: 涼宮ハルヒの戸惑 Suzumiya Haruhi no Tomadoi The Perplexity of Haruhi Suzumiya ). พัฒนาโดย Banpresto วางจำหน่ายลงบนเครื่อง เพลย์สเตชัน 2 เมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2551 และมียอดขายวิดีโอเกมในญี่ปุ่นอันดับที่ 95 ประจำปี พ.ศ. 2551 ด้วย โดยยอดขายรวมทั้งหมด 139,425 ชุดเกมที่สามคือ จังหวะเร้าใจของสึซึมิยะ ฮารุฮิ (ญี่ปุ่น: 涼宮ハルヒの激動 Suzumiya Haruhi no Gekidō The Excitement of Haruhi Suzumiya ) พัฒนาโดย Kadokawa Shoten วางจำหน่ายลงบนเครื่อง วี เมื่อวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2552 เกมที่สี่คือ โลกคู่ขนานของสึซึมิยะ ฮารุฮิ (ญี่ปุ่น: 涼宮ハルヒの並列 Suzumiya Haruhi no Heiretsu The Parallel of Haruhi Suzumiya ) วางจำหน่ายลงบนเครื่อง วี เมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2552 และเกมที่ห้าคือ ลำดับของสึซึมิยะ ฮารุฮิ (ญี่ปุ่น: 涼宮ハルヒの直列 Suzumiya Haruhi no Chokuretsu The Series of Haruhi Suzumiya ) วางจำหน่ายลงบนเครื่อง นินเทนโด ดีเอส เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2552[16] โดย 2 เกมหลังนี้พัฒนาโดย Sega, ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 ทางคาโดคาว่า โชเต็น ได้วางจำหน่ายเกม The Day of Sagittarius III ลงใน App Store ของ Apple[17]

รางวัลและความนิยม
รางวัลอะนิเมะประเภท TV Series ยอดเยี่ยม จากงาน Tokyo International Anime Fair (TAF) 2007
รางวัลอะนิเมะทีวีซีรีส์ยอดเยี่ยมและเพลงประกอบยอดเยี่ยม จากงาน Animation Kobe ครั้งที่ 11 ปี 2006
ผลโหวตอะนิเมะยอดเยี่ยมจากนิตยสาร Newtype ปี 2006
อะนิเมะยอดเยี่ยมจากนิตยสาร Animedia ฉบับปี 2007
อันดับ 4 จากผลโหวตออนไลน์อะนิเมะยอดนิยม จากช่องทีวี TV Asahi ปี 2006
อันดับ 22 จากผลโหวตอะนิเมะชันยอดนิยมตลอดกาล จากงานนิทรรศการ Japan Media Arts Festival ปี 2006 (จัดอันดับ 25 ใน 4 สาขา เพื่อนำไปจัดแสดงที่หอศิลป์)
ผลโหวต Anime Grand-Prix จากนิตยสาร Animage ครั้งที่ 29 ปี 2007
เรื่องยอดนิยมอันดับ 3
ตัวละครชายยอดนิยม เคียวน์ ได้อันดับ 3
ดาราหญิงยอดนิยม ซุซุมิยะ ฮารุฮิ อันดับ 2, นากาโตะ ยูกิ อันดับ 9, อาซาฮินะ มิคุรุ อันดับ 15, ซึรุยะ อันดับ 45
Episode ยอดนิยม : อันดับ 3 ตอน 12 (Live a Live) , อันดับ 10 ตอน 1 (Mikuru Episode 00) , อันดับ 12 ตอน 9 (Someday in the rain) , อันดับ 15 ตอน 11 (Day of Sagittarius) , อันดับ 16 ตอน 14 (Suzumiya Haruhi VI) , อันดับ 49 ตอน 2 (Suzumiya Haruhi I) , อันดับ 51 ตอน 4 (Boredom of Suzumiya Haruhi)
อายะ ฮิราโนะ (ผู้พากย์ สึซึมิยะ ฮารุฮิ) ได้รับรางวัลนักพากย์หน้าใหม่ยอดเยี่ยม จากงาน Seiyuu Awards ครั้งที่ 1 ปี 2006, ได้รับรางวัลนักพากย์ยอดเยี่ยมจากงาน TAF 2007 และอันดับ 4 จากนิตยสาร Animage
ยูโกะ โกโต้ (ผู้พากย์ อาซาฮินะ มิคุรุ) นักพากย์ตัวละครสมทบฝ่ายหญิงดีเด่น จากงาน Seiyuu Awards ครั้งที่ 1 ปี 2006
อันดับความนิยมในการจำหน่ายสินค้า
ช่วงที่อะนิเมะฉาย 3 เดือน มี Clip ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ มากกว่า 2,000 Clip ใน Youtube ถือว่าเป็นสถิติปริมาณ Clip จากอะนิเมะที่สูงมากในช่วงเวลาสั้นๆ
ช่วงที่อะนิเมะฉาย 3 เดือน นิยายซีรีส์ Suzumiya Haruhi ติดอันดับ Best Seller และติด Top 10 ทั้ง 8 เล่ม (เล่ม 8 เพิ่งจำหน่าย ตอนพฤษภาคม) จากเว็บ Amazon ของญี่ปุ่น
อันดับ DVD ขายดีที่สุดในปี 2006 จากผลสำรวจของร้านหนังสือ Dengeki Maoh ร่วมกับร้าน Toranoana และ Animate
เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2007 ยอดขายซิงเกิล God Knows (เพลงประกอบตอน 12 Live A Live) อยู่ที่ 100,426 แผ่น


เกร็ดข้อมูล

สิ่งที่ซ่อนในช่วงเพลงเปิดและเพลงปิด
สำหรับคนที่ไม่ได้อ่านภาค Light Novel หรือ นิยายสั้น คงจะไม่ทราบว่าในฉาก OP/ED มีภาพประกอบที่กล่าวถึงในนิยายปนอยู่ด้วย

เพลงเปิด

ฮารุฮิมองดาว = ดูจากชุดที่ฮารุฮิใส่ เป็นชุดเมื่อ 3 ปีก่อน ตามเหตุการณ์ในตอน Bamboo Leaf Rhapsody จากเล่ม 3
ตอน Kyon ขี่จักรยานโดยมีฮารุฮิซ้อนท้าย = ช่วงหนึ่งระหว่างเที่ยวในเมือง จากตอน Endless Eight ในเล่ม 5
ยูคิยืนกลางหิมะตก = จากภาพประกอบนิยาย เกี่ยวกับเรื่องสั้นที่ยูกิขึ้น ในเล่ม 8 (ในภาพอาจสื่อถึงชื่อที่เธอเลือก โดยคำว่า "หิมะ" ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียงว่า "ยูกิ")
ฮารุฮิและยูคิใส่ชุดกีฬา = จากคำพูดในบทนำเล่ม 7 ที่ฮารุฮิกับยูคิคว้าแชมปและรองแชมป์กีฬาในโรงเรียน
ฮารุฮิเล่นเปียโน = มาจาก Drama CD ในช่วงต้นปี 2007 ที่ฮารุฮิคิดจะตั้งวงดนตรีขึ้นหลังเหตุการณ์ในตอน 12 "Live a Live" โดยตัวเธอจะเล่นเปียโน (ไม่ได้มาจากในนิยายและ Drama CD ออกหลังอะนิเมะจบ)
เพลงปิด

เบื้องหลังการถ่ายทำละคร = ถ่ายทำในช่วงนิยายเล่ม 2 (Asahina Mikuru's Adventure Episode 00 เป็นตอนเดียวจบในเล่ม 6 เพื่อแสดงเฉพาะส่วนภาพยนตร์ที่ถูกถ่ายจากเล่ม 2)
กินหม้อไฟและ เคียว์ใส่หมวกกวาง = ช่วงหนึ่งใน Snow Mountain Syndrome ในนิยายเล่ม 5 เหตุการณ์ต่อจากนิยายเล่ม 4

เกร็ดเล็กน้อยจาก 14 ตอน
ระวังเสียอรรถรส ข้อความด้านล่างนี้กล่าวถึงเนื้อเรื่องหรือฉากจบ

ตอน 01 : Asahina Mikuru's Adventure Episode 00

แถบสีดำทั้งสองข้างของจอแสดงให้เห็นว่าหนังนั้นถ่ายโดยใช้อัตราส่วน 4:3 (ซึ่งทุกตอนในเรื่องนั้นใช้อัตราส่วน 16:9)
บทพูดแปลกๆ ที่นอกบทของนางาโตะ และ โคอิซุมิ ที่เกี่ยวกับ "กุญแจ" นั้น หมายถึงความขัดแย้งระหว่างกลุ่มทั้งสามกลุ่มคือมนุษย์ต่างดาว, มนุษย์จากอนาคต และ ผู้มีพลังจิต ซึ่งในนิยายเดิมนั้นทั้งนางาโตะ มิคุรุ และ โคอิซุมิ ต่างเตือนเคียวไม่ให้เชื่ออีกสองคนที่เหลือ
เป็นตอนเคียวน์ที่มีเครื่องหมายชี้ให้ดูถึงสิ่งปกติ
ชื่อของอาซาฮินะ มิคุรุ, นางาโตะ ยูคิ และ โคอิซุมิ อิสุกิ ในช่วงเริ่มและช่วงจบของหนังนั้นเขียนด้วยตัวคาตาคานะ แทนที่จะเป็นตัวคันจิละตัวฮิรากานะเป็นการแสดงว่าพวกเขาแสดงเป็นคนอื่นที่ไม่ใช่พวกเขาเอง ถึงแม้ว่าชื่อตัวละครจะเหมือนกันก็ตาม
ยูคิเป็นคนพูดถึงตอนต่อไปใน DVD
ใน DVD นั้นจะมีฉากพิเศษ
เสื้อแจ็กเก็ตที่แถมมาพร้อมกับ DVD ชุดพิเศษนั้นจะมีรูปมิคุรุในชุดกบ ซึ่งอ้างอิงถึงตอนที่ 9 Someday in the Rain
ยามาโมโตะ ฮิโรชิ ผู้กำกับของตอนนี้ ขณะที่ศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยเกียวโต ได้อยู่ชมรมคนรักแอนิเมชันได้เคยทำหนังที่ใช้เทคนิคกล้องแย่ๆ ที่ใช้ในตอนที่ 1 นี้ ซึ่งได้แรงบันดาลใจจากหนังเรื่องนั้น
ฉากพิเศษที่แถมใน DVD นั้นจะมีบอกเบื้องหลังของการถ่ายทำตอนที่ 1 และมีปรากฏการณ์เหนือธรรมชาติเกิดขึ้นมากมายระหว่างถ่ายทำ ซึ่งบางอย่างถูกถ่ายเก็บไว้ได้และสามารถพบเห็นได้ในตอนที่ 1
กลุ่มนกพิราบสีเทากลายเป็นสีขาวได้ภายในคืนเดียว
มิคุรุยิงลำแสงโฟตอนออกมาจากคอนแท็คเลนส์สีฟ้าของเธอ (ถูกถ่ายไว้)
มิคุรุสร้างมีดแรงสั่นสะเทือนสูงออกมาจากคอนแท็คเลนส์สีเงินของเธอ
มิคุรุยิงกระสุนไรเฟิลออกมาจากคอนแท็คเลนส์สีทองของเธอ
มิคุรุสร้างหลุมดำขนาดเล็กออกมาจากคอนแท็คเลนส์สีเขียวของเธอ (เหตุการณ์ผิดปกติจากมิคุรุนี้ถูกกลบเกลื่อนโดยนาโนแมชชีนของนางาโตะ)
ต้นซากุระที่อยู่ริมแม่น้ำผลิดอกอย่างไม่มีเหตุผล (ถูกถ่ายไว้)
แมวพูดได้ (ถูกถ่ายไว้)
ชามิ เป็นแมวตัวผู้ที่มีสามสี (ซึ่งที่จริงแล้วค่อนข้างหายาก)
ปืนลำแสงกลายเป็นปืนฉีดน้ำโดยไม่มีใครสังเกต
นกพิราบสีขาวกลายเป็นนกพิราบสื่อสารที่สูญพันธุ์ไปแล้ว
มีการเคลื่อนของโลกเล็กน้อย
มีการเพิ่มเติมเทคนิคพิเศษระดับมืออาชีพขณะที่ฝ่ายผลิต (เคียวน์และฮารุฮิ) หลับอยู่ (ถูกถ่ายไว้)
กลุ่มคนลึกลับในชุด Cosplay เดินอยู่รอบๆ โรงเรียน
เคียวน์ได้คิดแผนที่จะหยุดไม่ให้เหตุการณ์ประหลาดเกิดขึ้นมากกว่านี้ แผนนั้นคือให้ฮารุฮิพูดในตอนจบสองครั้ง ซึ่งได้ถูกถ่ายไว้เช่นเดียวกัน
ถึงแม้ว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในตอนแรกนี้จะยังดูมั่วๆ และงงๆ แต่ส่วนใหญ่นั้นเป็นความจริงเกือบทั้งหมด และมีจุดใหญ่ๆ สองจุดคือ ชามิ แมวพูดได้ ซึ่งการปรากฏตัวของมันนั้นได้ถูกอธิบายในอะนิเมะ (เวอร์ชัน 2009) ซึ่งทุกคนอาจจะคิดว่ามันเป็นเทคนิคพิเศษและลืมมันไปในเวลาต่อมา แต่ ชามิเซน กลับกลายเป็นแมวพูดได้จริงๆ ตามความต้องการของ ฮารุฮิ (อธิบายจาก เวอร์ชัน 2009) และกลับเป็นแมวปกติเมื่อ ถ่ายหนังเสร็จ (โดยการที่เคียวน์ทำให้ฮารุฮิเชื่อว่า เหตุการณ์ในหนังเป็นเรื่องสมมุติโดยให้พูดในตอนจบ และไม่เกี่ยวกับความจริง) อีกจุดหนึ่งคือเมื่อฉากมิคุรุและยูคินั้นต่อสู้กับแล้วมิคุรุใช้ "มิคุรุ บีม" ซึ่งตามหลักแล้วก็ไม่น่าจะมีอะไรนอกจากเทคนิคพิเศษธรรมดา แต่ก็ปรากฏว่ามีอะไรบางอย่างที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้น มิคุรุได้ยินลำแสงโฟตอนออกจากตาของเธอจริงๆ โดย นากาโตะได้ใช้มือบังไว้ เคียวน์จึงไม่เป็นไร และมิคุรุยังได้ยิง ลำแสงโฟตอนใส่ฉากสะท้อนแสงจนขาด ถึงแม้ว่าฉากนั้นจะผ่านไปอย่างรวดเร็ว แต่ก็มีคำอธิบายจากนากาโตะว่า มิคุรุ ได้ใช้ "มิคุรุ บีม" ออกมาจริงๆ ซึ่งอาจเป็นเพราะความต้องการของ สึซึมิยะ ฮารุฮิต้องการให้เธอทำเช่นนั้น (คำอธิบายจาก ฮารุฮิ 2009) โดย การที่นากาโตะ พุ่งเข้าโจมตี มิคุรุ นั้นเกิดจากการที่ นากาโตะ ต้องการที่จะ ฉีด นาโนแมชชีน ใส่ร่างกายของมิคุรุ และถอดคอนแทคเลนส์ออก เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ขึ้นอีก และ กลับเป็นปกติ หลังจาก ฮารุฮิเชื่อว่า ในหนังเป็นเพียงเรื่องสมมุติ
ในช่วงเพลงปิดของตอน ได้ปรากฏชื่อจริงของเคียวน์ในเครดิต คือ Shigemura Kengo (ชิเกะมูระ เค็นโงะ)แต่ความจริงแล้ว เป็นเพียงแค่ชื่อของพนักงานฝ่ายตัดต่อในเกียวโตอะนิเมะเท่านั้น ดังนั้น ชื่อชิเกะมูระ เค็นโงะจึงไม่ใช่ชื่อจริงของเคียวน์ แต่เป็นมุขที่เอาชื่อของพนักงานที่มีอยู่จริงมาใส่ในหนังของฮารุฮิเท่านั้น

ตอน 02 : The Melancholy of Suzumiya Haruhi I

ในตอนแรกชื่อตอนนั้นเป็นสีขาว-ดำ และได้มีสีสันขึ้นมาเมื่อเคียวน์ได้พบกับฮารุฮิ
เคียวน์ได้เริ่มบรรยายเรื่องราวในช่วงเริ่มเรื่องว่าเขาได้รู้แล้วว่าซานตาคลอสนั้นไม่มีจริง ซึ่งบทนี้ใกล้เคียงกับบทบรรยายของเรื่อง Itsudatte My Santa! OVA ซึ่งฮิราโนะ อายะ คนพากษ์ฮารุฮินั้นเป็นคนเดียวกันกับคนที่พากษ์ ซานต้าไมในเรื่องนั้น
เคียวน์ถามยูคิว่าเธอกำลังอ่านเรื่องอะไรอยู่ ยูคิจึงยกหน้าปกขึ้นมาให้เขาดูมันคือหนังสือ The Fall of Hyperion โดย Dan Simmons
ฮารุฮิหยิบนิตยสาร Comptiq (ซึ่งมีหน้าปก Shuffle!) และนิตยสาร Comp Ace (ซึ่งมีหน้าปกโดย Navel ผู้สร้าง Shuffle!) เพื่ออธิบายความจำเป็นที่จะต้องมีความ moé ในกองพล SOS ซึ่ง ยูโกะ โกโต้ (มิคุรุ) โทโมคาซุ สุกิตะ (เคียวน์) และ ซายากะ อาโอกิ (น้องสาวเคียวน์) นั้นเป็นคนพากษ์ คาเอเดะ, ริน และ ลิเซียทัส จาก Shuffle!

ตอน 03 : The Melancholy of Suzumiya Haruhi II

ประตูสีดำทางด้านซ้ายของห้องนางาโตะเชื่อมโยงถึงตอน Bamboo Leaf Rhapsody ในนิยาย
ในตอนจบของตอนช่วงตัวอย่างตอนต่อไปนั้น เคียวน์พูดว่า "พ่อครับ ผมจะทำได้ไหม?" ซึ่งล้อเลียน "พ่อครับ ผมจะทำครับ" จากการ์ตูนเบสบอลเคียวจิน โนะ โฮชิ
ในตอนนี้ นางาโตะกำลังอ่านหนังสือแปลเป็นภาษาญี่ปุ่นเรื่อง The Code Book: The Evolution of Secrecy from Mary, Queen of Scots to Quantum Cryptography โดย Simon Singh ซึ่งตีพิมพ์ในปี 2000 โดย Anchor ซึ่งได้แปลเป็นภาษาญี่ปุ่นตีพิมพ์ในปี 2001 โดยสำนักพิมพ์ Shinchōsha ISBN 4–10–539302–2

ตอน 04 : The Boredom of Suzumiya Haruhi

ชุดพละของปีหนึ่งเป็นสีน้ำเงิน ในขณะที่ของปีสองเป็นสีแดง
ในนาทีที่ 13:22 ฮารุฮิกำลังคิดจะทำผมมิคุรุเป็นหางม้า แต่พอมองหน้าเคียวน์แล้วจึงไม่ทำ ตรงนี้เชื่อมโยงถึงตอนที่ 14 The Melancholy of Haruhi Suzumiya VI
โทรศัพท์มือถือของโคอิซุมินั้นคือ Nokia 6630 Bordeaux Rouge
ในนาทีที่ 15:39 ที่มียักษ์สีฟ้ายืนอยู่หลังชิงช้าสวรรค์นั้น เป็นยักษ์สีฟ้าตัวเดียวกับในตอนที่ 13 The Melancholy of Haruhi Suzumiya V ซึ่งจะเห็นชิงช้าสวรรค์ได้ในนาที่ที่ 17:19-24, 17:29-49, 18:20-26 และ 18:27 ในตอนที่ 13
ในนาทีที่ 17:05 ถึง 17:12 โคอิซุมิพูดว่า "ในเหตุการณ์ที่ผ่านมาที่คุณกับสุซุมิยะซัง อยู่ในอีกโลกหนึ่ง...คุณพาเธอกลับมาได้อย่างไร?" ประโยคนี้เชื่อมโยงถึงตอนที่ 14 The Melancholy of Haruhi Suzumiya VI
ในนาทีที่ 17:45 จะเห็นยูคิใส่แว่นตาอยู่ และเคียวน์กำลังคุกเข่าอยู่ในห้องลึกลับกับผู้หญิงคนหนึ่ง เชื่อมโยงไปถึงในตอนที่ 10 The Melancholy of Haruhi Suzumiya IV ที่ ยูคิสู้กับเรียวโกะ เพลงประกอบนั้นเป็นเพลงเดียวกับที่ใช้ในฉากต่อสู้กัน
เพลงประกอบซึ่งบรรเลงขณะที่เคียวน์เป็นพิชเชอร์ (คนขว้างลูก) นั้น เรียบเรียงมาจากเพลงเปิดของละคร TV Touch ซึ่งเป็นการ์ตูน/อนิเมชื่อดังเกี่ยวกับเบสบอลของอาดาจิ มิซึรุ
มิคุรุในชุดพยาบาล, คำพูดของเคียวน์ที่ว่า "ผมต้องเข้ามาเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่พัวพันถึงชะตาของโลก", และคำพูดของมิคุรุที่ว่า "ถ้าคุณใจดีกับฉัน เหตุการณ์นั้นจะเกิดขึ้นอีก..." นั้นเชื่อมโยงถึงตอนที่ 14 The Melancholy of Suzumiya Haruhi VI
คำพูดของโคอิซุมิที่ว่า "มันคงไม่ดีแน่ถ้าจะปล่อยให้สุซุมิยะซังเบื่อมากๆ เราต้องนำเรื่องนี้ไปพิจารณาในการดำเนินการต่อไป" การดำเนินการต่อไปนั้นส่งผลถึงตอน Remote Island Syndrome (Part I)

ตอน 05 : The Melancholy of Suzumiya Haruhi III

มือถือของเคียวน์คือ Panasonic FOMA 902i Rubber Black
ในชื่อตอนจบเรื่อง ชื่อเคียวน์และฮารุฮิเขียนโดยตัวอักษรตัวใหญ่
ในช่วงตัวอย่างตอนต่อไป เคียวน์ตะโกนว่า "อะ-อะไรกันเนี่ย!?" (Na, Nandattee?!) ซึ่งล้อเลียนจากการ์ตูน MMR Magazine Mystery Reportage
ในตอนนี้ นางาโตะ กำลังอ่านหนังสือ Phanomenologie des Geistes (The Phenomenology of Spirit) โดย Georg Wilhelm Friedrich Hegel, ตีพิมพ์ในปี 1807 ซึ่งแปลเป็นภาษาญี่ปุ่นโดย Hasegawa Hiroshi และได้ตีพิมพ์ในปี 1998 โดยสำนักพิมพ์ Sakuhinsha ISBN 4–87893–294–5 เคียวน์กำลังอ่านเล่มสองของเรื่อง I-My-Me of Let's Leave the School (学校を出よう Gakkō wo Deyō) ซึ่งเป็นนิยายอีกเรื่องหนึ่งที่แต่งโดย Nagaru Tanigawa คนแต่งเรื่องนี้
ตอน 06 : Remote Island Syndrome (Part I)

เคียวน์เอ่ยชื่อเกาะขึ้นมาสองเกาะ เกาะหนึ่งคือเกาะพาโนรามา ซึ่งมาจาก นิยายลึกลับของเอโดงาว่า รันโป และอีกเกาะหนึ่งคือเกาะอินแฟนท์ ที่เป็นที่เกิดของมอธร่า
ฮารุฮิเอ่ยชื่อตึก 3 หลัง แบล็กเดธ, ลิลาส และ โคเก็ตสึ ซึ่งมาจาก ชินฮนคาคุ นิยายลึกลับของญี่ปุ่น
ในตอนนี้ (รวมถึงฉากย้อนหลังจากตอน Remote Island Syndrome (Part II)) ยูคินั้นกำลังอ่านนิยายสืบสวนเรื่อง The woman in the wardrobe โดย Peter Antony (นามปากกาของพี่น้อง Peter และ Anthony Shaffer) ตีพิมพ์ในปี 1951 โดย Evans แปลเป็นภาษาญี่ปุ่นและตีพิมพ์ในปี 1996 โดย Tōkyō Sōgensha ISBN 4-488-29901-6 ซึ่งเนื้อเรื่องจะเกี่ยวกับตอนที่ 8 (Remote Island Syndrome (Part II))
ในนาทีที่ 16:27 เป็นฉากที่เคียวน์ตกใจเมื่อเจองู นั้นมาจากที่เคียวน์พูดอยู่บ่อยๆ ว่าออกมาเที่ยวป่ายังดีกว่าไปหา UMAs โดยเฉพาะ ซึจิโนะโกะ
(ผิดจริง) ในระหว่างเล่นไพ่อีแก่ (Baba-Nuki) ไพ่ 6 ข้าวหลามตัดถูกดึงออกผิดพลาด
ตอน 07 : Mystérique Sign

ในการบรรยายของเคียวน์ช่วงเริ่มเรื่องนั้น "หลังจากผ่านเทศกาลทานาบาตะในอาการซึมเศร้าแล้วนั้น..." และในนาทีที่ 5:27 "เธอ (ฮารุฮิ) พยายามจะไม่พูดถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในงานทานาบาตะเมื่อสามปีก่อน สินะ" คำพูดเหล่านั้นอ้างถึงตอน "Bamboo Leaf Raphsody" ในนิยาย The Boredom of Suzumiya Haruhi ซึ่งอยู่ก่อนตอน "Mystérique Sign" และต้นไผ่นั้นยังเห็นอยู่ที่มุมห้อง
เคียวน์ใช้ทำนองกลอนไฮคุเมื่อพูด "น่ารำคาญ โอ้ ช่าง น่ารำคาญ น่ารำคาญ"
คำพูดของเคียวน์ที่ว่า "สภานักเรียนนั้นอนุญาตให้กองพล SOS นั้นอยู่ได้ในรูปของกลุ่มให้คำปรึกษา" ซึ่งเชื่อมโยงถึงตอนที่ 14 (The Melancholy of Suzumiya Haruhi VI)
ชื่อของประธานชมรมคอมพิวเตอร์นั้นได้ถูกกล่าวขึ้นในตอนนี้ แต่ว่าถูกแทรกโดยเสียงแมว ทำให้รู้เพียงว่าชื่อของเขานำหน้าด้วยคำว่า "ยา" และลงท้ายด้วยคำว่า "ยะ" เท่านั้น
เมื่อฮารุฮิถามแฟนของประธานชมรมคอมพิวเตอร์ว่าครอบครัวของเขาอยู่ที่ไหน เธอถามว่า "เขาย้ายไปแคนนาดาหรือเปล่า?" ซึ่งล้อเลียน "การหายตัวไปอย่างลึกลับ" ของ อาซาคุระ เรียวโกะ ในตอนที่ 10 ซึ่งไม่มีใครมีปฏิกิริยาต่อคำถามนั้น
เคียวน์พูดว่า "เธอใช้เรื่องนี้บ่อยจังนะ" ที่หอพักของประธานชมรม ล้อเลียนจากตอนที่ 13 The Melancholy of Suzumiya Haruhi V ที่เธอใช้เหตุผลเดียวกันเพื่อหาข้อมูล
ในห้องของประธานชมรม มีโปสเตอร์ของ ฮิราโนะ อายะ, จิฮาระ มิโนริ, โกโต้ ยูโกะ คนพากษ์ ฮารุฮิ, ยูคิ และ มิคุรุ
ในตอนนี้ที่ขึ้นรูปฮารุฮิในหนังสือพิมพ์ขณะที่กำลังยกเครื่องคอมของประธานชมรม ซึ่งในความจริงแล้วเคียวน์เป็นคนยกเครื่องนั้นไป ซึ่งอาจเป็นการอ้างถึงนิยายซึ่งคนยกคอมพิวเตอร์นั้นคืนฮารุฮิก็ได้
เด็นตาคุ โอโตโกะ (เรื่องล้อเลียนของ เดนฉะ โอโตโกะ) อยู่บนชั้นหนังสือในห้อง
"จินตนาการแห่งความหวาดกลัว" นั้นมาจาก The Monster from the Id จากเรื่อง Forbidden Planet
โคอิซุมินั้นบอกว่าเขาสามารถใช้พลังได้หนึ่งในสิบของพลังที่แท้จริงของเขาใช้ได้ในมิติปิด พลังที่แท้จริงของเขานั้นจะพบได้ในตอนที่ 13 The Melancholy of Suzumiya Haruhi V
ชื่อท่าโจมตีของโคอิซุมิ "Fumoffu" และ "Second Raid" นั้นมาจากชื่ออะนิเมะ Full Metal Panic? Fumoffu and Full Metal Panic: The Second Raid ซึ่งฉายโดย Kyoto Animation เช่นเดียวกับเรื่องฮารุฮินี้ และเมื่อแมลงยักษ์นั้นโจมตีใส่ยูคิ เธอได้ป้องกันตัวเองด้วยบาเรียซึ่งลักษณะเช่นเดียวกับบาเรียที่สร้างขึ้นโดย Lambda Driver จากเรื่องฟุล เมทัล พานิก!
ฉากที่แมลงยักษ์รักษาตัวเองระหว่างต่อสู้เป็นฉากรักษาตัวเองจากอะนิเมะ Mushiking
ตอนจบของตอน ฉากตัวอย่างตอนต่อไปในตอนที่ 8 ได้ทำเลียนแบบชื่อตอนของอะนิเมะเรื่องแว่วเสียงเรไร
คำพูดของมิคุรุที่ว่า "การพกพาอาวุธเป็นเรื่องต้องห้าม" นั้นแสดงให้เห็นว่าเธอนั้นก็ไม่ต่างอะไรกับคนธรรมดา (การห้ามพกพาอาวุธนั้นยังห้ามจนถึงอนาคต)
เหตุการณ์ทั้งหมดของตอน Mystérique Sign นั้นถูกวางแผนโดยนางาโตะ (ยกเว้นการคืนชีพของสิ่งมีชีวิตข้อมูลระดับต่ำ) ดังหลักฐานต่างๆ ดังนี้
เมื่อฮารุฮิบ่นว่า "สงสัยจะมีใครบางคนมาทำการจารกรรมข้อมูลทางอินเตอร์เน็ทกับกองพล SOS แน่ๆ ! ใครกันนะที่ทำแบบนี้ ?" แล้วกล้องก็จับภาพไปที่บุคคลที่น่าสงสัย
มิคุรุดูท่าทางตื่นกลัว เมื่อเธอแนะนำคิมิโดริหลังจากถูกจ้องโดยนางาโตะ บางทีนางาโตะอาจจะร่วมมือกับมิคุรุในการวางแผนนี้
เมื่อคิมิโดรินั้นพูดว่า "ฉันเป็นห่วงเหลือเกิน..." น้ำเสียงของเธอนั้นราบเรียบราวกับท่องมา ไม่เหมือนคนเป็นห่วงจริงๆ
นางาโตะนั้นจ้องคิมิโดริตลอดเวลาที่เธอพูดอยู่
โคอิซุมิมองไปทางนางาโตะขณะที่เขาพูดว่า "บางทีแค่นี้อาจจะเพียงพอแล้วมั้ง?" ในอีกมิติหนึ่ง เป็นทำนองว่าเขาคิดว่านางาโตะเป็นคนควบคุมสถานการณ์ทั้งหมด
ประธานชมรมคอมพิวเตอร์ไม่รู้จักคิมิโดริ บางทีนางาโตะอาจจะร่วมมือกับคิมิโดริ ดังเช่นคิอนสงสัย
บทความใน เมกามิ แมกกาซีน เดือนสิงหาคม 2006 เปิดเผยว่าคิมิโดรินั้นเป็น ส่วนแสดงผลรูปร่างมนุษย์ เช่นเดียวกับยูคิและเรียวโกะ
ตอน 08 : Remote Island Syndrome (Part II)

ในฉากที่ฮารุฮิอธิบายความจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์ในคฤหาสน์ ท่าทางของตัวเธอ อิสุกิ และมิคุรุนั้น เลียนแบบท่าทางของ Phoenix Wright, Miles Edgeworth และ Maya Fey จากเกม Phoenix Wright: Ace Attorney ในเครื่องเกมบอยแอดวานซ์ และ นินเทนโด ดีเอส (ซึ่งรู้จักในชื่อญี่ปุ่นว่า Gyakuten Saiban)
วันที่ออกอากาศตอนนี้ตรงกับวันที่ 22 มิถุนายน ตรงกับวันเกิดของเซอร์อาเธอร์ โคนัน ดอยล์ (ผู้แต่งเรื่องเชอล็อกโฮมส์)
ตัวผู้ร้ายในฉากอธิบายนั้นเป็นคนในรูปสีดำ ซึ่งทำเลียนแบบจากเรื่องโคนันและ Tantei Gakuen Q ยิ่งไปกว่านั้นเมื่อฮารุฮิทำท่าเมื่อจบการสันนิษฐานของเธอนั้น ขึ้นเพลงประกอบจากเรื่องโคนันอีกด้วย
ในตอนจบของตอน อิสุกิจ้องมองที่ไฝที่ต้นคอของเคียวน์ ซึ่งในอะนิเมะไม่ได้มีการอธิบายอะไร

ตอน 09 : Someday in the Rain

ตอนนี้เป็นตอนพิเศษซึ่งแต่งขึ้นโดยทานิกาวา นางารุเอง สำหรับอะนิเมะโดยเฉพาะ (ไม่มีตอนนี้ในนิยาย)
ชื่อตอน "Someday in the Rain" นั้นมีความหมายตรงกันข้ามกับคำว่า "On one sunshiny day" (アル晴レタ日ノ事, Aru hareta hi no koto?) ซึ่งเป็นท่อนหนึ่งจากเนื้อเพลงจบ Sunny Sunny Fun (ハレ晴レユカイ, Hare Hare Yukai?)
โทรศัพท์มือของฮารุฮิคือ Sony Ericsson premini–II Silver พร้อมกับสายรัดเนโกะแมน
เสียงประกอบในขณะที่มี "รายการลึกลับ" นั้นเป็นฉากล้อเลียนจากเรื่องโคนัน
เกมการ์ดที่เคียวน์และอิสุกิเล่นกันอยู่ในตอนนั้นคือ Dragon All Stars (ドラゴン☆オールスターズ)
ขณะที่กำลังถอดชุดกบของมิคุรุ ฮารุฮิพูดคำที่นำมาจากเพลงจบของเรื่องคือ Hare Hare Yukai ("Boooon! WAPU de RUPU na kono omoi wa", dubbed "Booon! Those looping feelings...")
ในนาทีที่ 12:53 เสียงที่ได้ยินนั้นเป็นคำพูดจากเรื่อง Air ซึ่งพูดโดย Kunisaki Yukito พระเอกของเรื่อง ซึ่งพากษ์โดย Daisuke Ono ซึ่งเป็นคนเดียวกับผู้พากษ์ อิสุกิ
ในนาทีที่ 13:02 ถึง 13:15 ถ้อยคำที่ได้ยินนั้นเป็นการเล่นคำจากชื่อนิตยสาร Ace Magazine หลายๆ ฉบับ
ทั้งสุรุยะและเคียวน์ต่างถามนางาโตะว่าสมาชิกคนอื่นหายไปไหน แต่นางาโตะตอบกับสุรุยะเพียงคนเดียว และต่อมาเมื่อส
ขึ้นไปข้างบน Go down
 
สึซึมิยะ ฮารุฮิ
ขึ้นไปข้างบน 
หน้า 1 จาก 1
 Similar topics
-
» เรียกเธอว่าพระเจ้า สึซึมิยะ ฮารุฮิ
» ้แจกรูป"เรียกเธอว่าพระเจ้า สึซึมิยะ ฮารุฮิ"

Permissions in this forum:คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
CT ศูนย์รวมคนรักการ์ตูนในประเทศไทย!!! :: Cartoon Fanclub :: พูดคุยเกี่ยวกับการ์ตูนอื่นๆ-
ไปที่: